1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
ตอบ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม
2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
ตอบ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การ ศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน
3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
ตอบ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก
รัฐธรรมนูญ เราสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ
3. รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
4. รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
ตอบ เพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศ สำหรับประเทศไทย เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้ สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น เพื่อให้ รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและปลูกฝังแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนหรือสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำ เพื่อจะได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพื่อปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวไทยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเคารพต่อกฎหมาย การเสียภาษีอากร การเข้ารับราชการทหาร การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่ รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่ม จึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
ตอบ ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยเพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น ถ้าแก้เพื่ออย่างอื่นไม่ควรแก้เด็ดขาด
-เหตุผลที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ อาจจะเป็น เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลิตผลของเผด็จการ โดยไม่ดูเนื้อหาสาระ ใช่ว่าเป็นการแก้ปัญหาบ้านเมืองที่ถูกทาง ถ้าคิดกันได้เพียงแค่นั้น สุดท้ายก็จะมีสารพัดข้ออ้างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกันซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากเราไม่ได้แก้ให้สมบูรณ์ขึ้น แต่แก้เพื่อตอบสนองความไม่พอใจ
อีกอย่างรัฐธรรมนูญเป็นกติกาของสังคมที่สังคมตกลงกันว่าช่วงเวลานี้ จะใช้กติกานี้ และหากว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมเห็นว่าควรมีการแก้ไขใหม่ มันก็ย่อมแก้ไขได้ แนวคิดใดที่เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องแก้ไข ก็ต้องแก้ไขไปตามเสียงส่วนใหญ่ และหากในอนาคต เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าต้องแก้ไขอีก ก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่
6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
ตอบ ปัญหารัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร์ สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่ เช่น ปัญหาการขาดประสิทธิภาพและความสามารถของระบบการเมือง ในการแก้ไขปัญหาของสังคม
- ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพและ ความสามารถในการแก้ปัญหาของสังคมยังคงเป็นจุดวิกฤติของระบบการเมืองไทย ในขณะที่สถาบันทางการเมืองรัฐสภายังคงมีอ่อนแอทำให้ระบบราชการเป็นกลไกหลัก ในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการรวมอำนาจบริหาร การขาดประสิทธิภาพของระบบราชการหากผู้นำทางการเมืองไม่ตัดสินใจดำเนินการ แก้ไขปัญหาของระบบราชการอย่างจริงจังแล้วระบบการเมืองไทยในทศวรรษหน้านี้ จะประสบกับปัญหาทางสังคมที่ทวีทับถมกันมากและอาจเป็นอันตรายต่อการอยู่รอด ของระบบการเมืองไทยทั้งระบบได้ ทำให้ไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง เพราะ ในเมื่อการเมืองไม่มีประสิทธิภาพ แล้วการที่จะบริหารประเทศให้พัฒนานั้นเกิดขึ้นได้ยาก
19 พฤศจิกายน 2555
10 พฤศจิกายน 2555
กิจกรรมที่ 1
1.กฎหมาย หมายถึง คำสั่งทั้งหลายของผู้ปกครองแผ่นดินต่อราษฏรทั้งหลาย เมื่อไม่ทำตามต้องรับโทษ"
อ้างอิง ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (2552).นิยามของคำว่ากฎหมาย. (ออนไลน์)สืบค้นจาก http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=2158 [6 พฤศจิกายน 2555].
2.มาตรา หมายถึง บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ
มาตรา อ้างอิง พจนานุกรม แปลภาษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก
http://th.w3dictionary.org/index.phpq=%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2 [9 พฤศจิกายน 2555].
3.ดุลพินิจ หมายถึง คำว่า ดุลพินิจ (อ่านว่า ดุน-ละ-พิ-นิด) ประกอบด้วยคำว่า ดุล กับคำว่า พินิจ. ดุล แปลว่า เท่ากัน, เสมอกัน, เท่าเทียมกัน. พินิจ แปลว่า การพิจารณา. ดุลพินิจ จึงมีความหมายว่า การวินิจฉัยที่สมควร, การพิจารณาด้วยความเที่ยงธรรม.คำว่า ดุลพินิจ ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความยุติธรรมในการตัดสิน เช่นผู้พิพากษาใช้ดุลพินิจพิจารณาหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์และจำเลยเสนอ แล้วจึงตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม. เมื่อเขาทำผิดก็ต้องยอมรับโทษ
อ้างอิง ราชบัณฑิตยสถาน (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3892 [9 พฤศจิกายน 2555].
4.ฝ่ายนิติบัญญัติ หมายถึง ตัวแทนของประชาชนที่ไปทำหน้าที่ออกกฎหมาย
พิจารณางบประมาณของแผ่นดิน เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาของแผ่นดินและประเทศชาติ
อ้างอิง คลังปัญญา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9D%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4 [9 พฤศจิกายน 2555].5.รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฏหมายสูงสุดในการจัดการปกครองรัฐ ถ้าแปลตามความหมายของคำ จะหมายถึง การปกครองรัฐอย่างถูกต้องเป็นธรรม (รัฐ + ธรรม + มนูญ)
ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ"
ต้องมีลักษณะเป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ
กฏหมายรัฐธรรมนูญเพราะ "กฏหมายรัฐธรรมนูญ"
มีความหมายกว้างกว่า และจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้
6.กฎหมายอาญา หมายถึง เป็นกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดลักษณะของการกระทำที่ถือว่าเป็นความผิด
และกำหนดบทลงโทษทางอาญาสำหรับความผิดนั้น
เป็นกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิด
อ้างอิง วิกิพีเดีย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%B2 [9 พฤศจิกายน 2555].7.กฤษฎีกา หมายถึง กฤษฎีกา decree;edict;ordinance
คือ
กฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
อ้างอิง บทความกฏหมาย (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.thethailaw.com/law21/law21.html [9 พฤศจิกายน 2555].
8.นิติรัฐ (Legal State) นิติรัฐ หมายถึง รัฐที่ปกครองด้วย “กฎหมาย” ไม่ใช่ปกครองด้วย
“อำนาจบารมี” กล่าวคือ
ถือกฎหมายเป็นใหญ่ คนบังคับใช้กฎหมายเป็นรอง ต่างกับรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง
เพราะรัฐที่มีกฎหมายในการปกครอง ก็ไม่แน่ว่า กฎหมายจะเป็นใหญ่หรือไม่ แต่ทั้งนี้
ทุกรัฐล้วนมีกฎหมายในการปกครองด้วยกันทั้งสิ้น จุดสำคัญอยู่ที่ว่า
กรณีที่เป็นช่องว่างของกฎหมาย หรือไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ถ้าฝ่ายปกครองถือหลักว่า “เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามไว้
ฝ่ายปกครองจะกระทำอะไรก็ได้ เพราะเป็นดุลพินิจของฝ่ายปกครอง และในขณะเดียวกัน
ถ้ามีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองยิ่งจะกระทำอย่างไรก็ได้แล้ว”
อ้างอิง คุณสมชาย เหล่าพิทักษ์วรกุล. (2553).นิติรัฐ VS นิติธรรม (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=1442 [9 พฤศจิกายน 2555].
9.สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นมนุษย์
ซึ่งประกอบไปด้วยสิทธิตามธรรมชาติและสิทธิที่มีกฎหมายรับรอง
อ้างอิง ณัฐภูมินทร์ เพ่งสมบูรณ์. (2553). สิทธิมนุษยชนคืออะไร (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.learners.in.th/blogs/posts/365876 [9 พฤศจิกายน 2555].
10. ราชกิจจานุเบกษา หมายถึง ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2401 ทำหน้าที่ผลิตข่าวสารของทางราชการเพื่อเผยแพร่ให้ราษฎรได้ทราบทั่วถึงกัน และพระราชทานชื่อว่า “ราชกิจจานุเบกษา” แปลว่า “เป็นที่เพ่งดูราชกิจ” อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอาลักษณ์ ปัจจุบันมีสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีซี่งเป็นหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่รับผิดชอบจัดพิมพ์
อ้างอิง จเร พันธุ์เปรื่อง. (2553). ราชกิจจานุเบกษา (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.kpi.ac.th/wiki/index.php/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2 [9 พฤศจิกายน 2555].
9 พฤศจิกายน 2555
It's Me
Beautiful Life |
ชื่อเสียง นางสาวฮุษนา เหมาะแหล่
ชื่อในสังคม ฮุษนา (ฮุส)
วันที่ลืมตาดูโลก และเรียนรู้บนโลกใบนี้ 12 ธันวามคม 2533
พระราชวัง 211 หมู่ 1 ตำบล หนองธง อำเภอ ป่าบอน จังหวัด พัทลุง 93170
E-mail hoosnana@gmail.com
ประวัติการศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจาก
โรงเรียนบ้านเหมืองตะกั่ว อ.ป่าบอน จ.พัทลุง
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจาก
โรงเรียนตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง
- ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษา หลักสูตรภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
- นิสัยส่วนตัว เป็นคนที่พูดเก่ง พูดตรงไปตรงมากอย่างมีเหตุผล โกรธง่าย หายเร็วเป็นบางเรื่อง ร่าเริงแจ่มใส โลกส่วนตัวสูง มีจุดยืนเป็นของตัวเอง เข้มแข็ง
- ความสามารถพิเศษ สื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น สนใจด้านเทคโนโลยี
- คติประจำใจ
จงเตือนตนด้วยตนเอง,ไม่มีอะไรยากเกินกว่าความสามารถของคน
เพชรที่ว่าใส ยังแพ้ใจที่บริสุทธิ์
"You get the best out of others when you give the best of
yourself."
- ความใฝ่ฝันในอนาคต รับราชการ(ครู)
- สิ่งที่อยากทำมากที่สุด ต้องการเรียนให้จบปริญญาตรี มีงานทำที่มั่นคงและทำให้พ่อแม่มีความสุข
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)