19 พฤศจิกายน 2555

กิจกรรมที่ 2

1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ 

ตอบ    ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
มาตรา 30   บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน  การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้   มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง

ตอบ     หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 
            ส่วนที่ 8 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา
            มาตรา 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้อง จัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับสิทธิตามวรรค หนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
            การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
            มาตรา 50 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การ ศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครองทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

ตอบ    ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550   จุดกำเนิดรัฐธรรมนูญของไทย เกิดขึ้นจากบุคคลกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยฝ่ายทหารและพลเรือนที่เรียกว่า "คณะราษฎร" ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือราชาธิปไตย ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครองอยู่ที่พระมหากษัตริย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ทรงมีฐานะเป็นประมุขของรัฐ
           การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" และต่อมา พระองค์ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ภายหลังทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรของไทยฉบับแรก
รัฐธรรมนูญ เราสามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศ
2. รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงโครงสร้างการปกครองประเทศ
3. รัฐธรรมนูญวางหลักประกันเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
4. รัฐธรรมนูญช่วยทำให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน
  
4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย

ตอบ      เพราะรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศ สำหรับประเทศไทย เราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  การเป็นพลเมืองไทย ภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น บุคคลจะต้องเรียนรู้ สิทธิ เสรีภาพ และปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเข้าใจความหมายของ สิทธิ เสรีภาพและหน้าที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ประชาชนเคารพสิทธิของกันและกัน การใช้สิทธิของตนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะต้องไม่กระทบสิทธิเสรีภาพของผู้ อื่น เช่น รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนที่จะชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหรือเจรจา ต่อรองใด ๆได้โดยสงบ และปราศจากอาวุธแต่ต้องไม่ก่อความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น กีดขวางการจราจร ปิดการจราจร หรือทำลายสิ่งของบุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของทางราชการ เป็นต้น  เพื่อให้ รู้จักใช้สิทธิของตนเองและแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักใช้และรักษาสิทธิของตนเอง เช่น การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง  เพื่อรณรงค์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนและปลูกฝังแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชนแก่ชุมชนหรือสังคม ตามสถานภาพและบทบาทที่ตนพึงกระทำ  เพื่อจะได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  เพื่อปฏิบัติตนตามหน้าที่ของชาวไทยที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การเคารพต่อกฎหมาย การเสียภาษีอากร การเข้ารับราชการทหาร การออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น  เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่ รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่ม จึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข

ตอบ     ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าไม่เห็นด้วยเพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนเท่านั้น ถ้าแก้เพื่ออย่างอื่นไม่ควรแก้เด็ดขาด
-เหตุผลที่มีประชาชนบางกลุ่มคัดค้าน ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ อาจจะเป็น เพราะรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นผลิตผลของเผด็จการ โดยไม่ดูเนื้อหาสาระ ใช่ว่าเป็นการแก้ปัญหาบ้านเมืองที่ถูกทาง ถ้าคิดกันได้เพียงแค่นั้น สุดท้ายก็จะมีสารพัดข้ออ้างเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกันซ้ำแล้วซ้ำอีก เนื่องจากเราไม่ได้แก้ให้สมบูรณ์ขึ้น แต่แก้เพื่อตอบสนองความไม่พอใจ 
อีกอย่างรัฐธรรมนูญเป็นกติกาของสังคมที่สังคมตกลงกันว่าช่วงเวลานี้ จะใช้กติกานี้ และหากว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมเห็นว่าควรมีการแก้ไขใหม่ มันก็ย่อมแก้ไขได้ แนวคิดใดที่เสียงส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าต้องแก้ไข ก็ต้องแก้ไขไปตามเสียงส่วนใหญ่ และหากในอนาคต เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าต้องแก้ไขอีก ก็ต้องเป็นไปตามเสียงส่วนใหญ่

6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นัก ศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว 

ตอบ    ปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่  เช่น ปัญหาการขาดประสิทธิภาพและความสามารถของระบบการเมือง ในการแก้ไขปัญหาของสังคม
 -  
ปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพและ ความสามารถในการแก้ปัญหาของสังคมยังคงเป็นจุดวิกฤติของระบบการเมืองไทย ในขณะที่สถาบันทางการเมืองรัฐสภายังคงมีอ่อนแอทำให้ระบบราชการเป็นกลไกหลัก ในการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการรวมอำนาจบริหาร การขาดประสิทธิภาพของระบบราชการหากผู้นำทางการเมืองไม่ตัดสินใจดำเนินการ แก้ไขปัญหาของระบบราชการอย่างจริงจังแล้วระบบการเมืองไทยในทศวรรษหน้านี้ จะประสบกับปัญหาทางสังคมที่ทวีทับถมกันมากและอาจเป็นอันตรายต่อการอยู่รอด ของระบบการเมืองไทยทั้งระบบได้   ทำให้ไม่มีความมั่นคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมือง เพราะ ในเมื่อการเมืองไม่มีประสิทธิภาพ แล้วการที่จะบริหารประเทศให้พัฒนานั้นเกิดขึ้นได้ยาก 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น